กลไกการทำงานของการรับมือโดยใช้อารมณ์ ของ การรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา)

การบ่งเป้าหมายและการทำเพื่อให้ถึงเป้าหมาย

ผลของการรับมือโดยใช้อารมณ์อาจมาจากการระบุเป้าหมาย เข้าใจปัญหาการเข้าถึงเป้าหมาย แล้วหาทางเพื่อจะไปถึง[1]คือ การประมวลและแสดงอารมณ์อาจช่วยบุคคลให้หันไปสนใจการระบุเป้าหมายที่สำคัญที่สุดในชีวิตของตน[1]

ความชินต่อตัวก่อความเครียดและการประเมินทางการรู้คิดใหม่

ผลของการรับมือโดยใช้อารมณ์อาจมาจากการได้รับสิ่งเร้าที่สร้างความเครียดเมื่อพยายามประมวลและแสดงอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกัน[1]และการได้ตัวสร้างความเครียดอย่างซ้ำ ๆ อาจทำให้เกิดความชินทางสรีรภาพ (habituation)[2]การได้รับสิ่งเร้าซ้ำ ๆ ผ่านการประมวลและแสดงอารมณ์อาจนำไปสู่การประเมินทางการรู้คิดใหม่ (cognitive reappraisal) ของตัวสร้างความเครียดและการยืนยันตนเอง (self-affirmation) ที่สัมพันธ์กัน[16][36]

การกำหนดอารมณ์

กระบวนการขี้นป้ายให้กับอารมณ์ (เช่น เรียกชื่อมัน) อาจช่วยลดความรุนแรงของประสบการณ์ทางอารมณ์งานศึกษาได้แสดงว่า การขึ้นป้ายให้กับอารมณ์นำไปสู่การทำงานที่ลดลงในสมองเช่นบริเวณอะมิกดะลา และเพิ่มการทำงานของ prefrontal cortex ซึ่งอาจเป็นการทำงานเพื่อควบคุมอารมณ์ที่เป็นประโยชน์[37]

การควบคุมสถานการณ์ทางสังคม

การรับมือโดยใช้อารมณ์อาจเป็นตัวส่งสัญญาณให้สังคมรู้ว่าบุคคลจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ[1]การตอบสนองจากสังคมเป็นตัวกำหนดว่าการรับมือเช่นนี้เป็นการปรับตัวที่ดีหรือไม่การแสดงอารมณ์ที่ได้รับความเห็นใจจากผู้อื่นอาจทำให้ปรับตัวได้ดีกว่าการไม่ยอมรับ[2]หลักฐานงานวิจัยบางอย่างแสดงว่า นี่อาจจะเป็นกลไกการทำงานของการรับมือวิธีนี้เพราะว่า หญิงคนไข้มะเร็งเต้านมที่รู้สึกว่าสังคมยอมรับการแสดงอารมณ์ของตนได้ การรับมือโดยใช้อารมณ์จะเป็นตัวพยากรณ์คุณภาพชีวิตที่ดีกว่า[23]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา) http://www.biomedcentral.com/1471-2474/10/107/abst... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S01638... http://psp.sagepub.com/content/30/5/558 http://psp.sagepub.com/content/33/2/238 http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1467-... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1547-... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1755-... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2749806 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2911487 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3237825